บทที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะตัวของมนุษย์ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ โดยมีจุดแบ่งสำคัญ คือ การที่มนุษย์สามารถสร้างสรรค์วัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อบ่งชี้ความเจริญและกลบสัญชาตญาณลงไป มาในบทนี้ เราจะลงลึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับมนุษย์ให้มากขึ้น ว่าเราสร้างและใช้ประโยชน์จากมันในลักษณะใดๆ บ้าง ซึ่งเรื่องการใช้ประโยชน์นี้ยังสามารถเชื่อมไปได้ถึงเรื่องการอนุรักษ์ด้วย ถ้าพร้อมแล้วเรามาลุยกันเลย…..
เกี่ยวกับความหมาย และลักษณะเฉพาะตัวได้คุยกันไปใน 2 บทที่ผ่านมาแล้ว.. ดังนั้นในบทนี้จึงอยากขยายเกี่ยวกับประเภท รูปแบบ และลักษณะอื่นๆ ของวัฒนธรรม บ้าง เพื่อจะได้วิเคราะห์เชื่อมโยงไปถึงการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ได้เข้าใจมากขึ้น
ปัจจุบันวัฒนธรรมสามารถแบ่งได้หลากหลายประเภทมาก แต่ที่นิยมใช้เป็นเกณฑ์มากที่สุด คือ เกณฑ์ที่กำหนดจากพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ซึ่งจะแบ่งวัฒนธรรมเป็น 4 ลักษณะ คือ
วัฒนธรรมประเภทคติธรรม ได้แก่ พวกคติความเชื่อ คุณธรรมและจริยธรรม
วัฒนธรรมประเภทเนติธรรม ได้แก่ พวกกฎหมาย ระเบียบต่างๆ
วัฒนธรรมประเภทสหธรรม ได้แก่ พวกมารยาทในสังคมต่างๆ
วัฒนธรรมประเภทวัตถุธรรม
ทั้ง 4 ประเภท เมื่อนำมารวมกันมันก็สื่อความหมายเหมือนอย่างที่ได้บอกไปในบทที่ผ่านมาว่า คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น นั่นเอง โดย 4 ประเภท จะจำแนกตามการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เช่น กลุ่มเนติธรรมจะใช้เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะที่กลุ่มสหธรรมเอามาใช้เพื่อหล่อหลอมบุคลิกภาพทางสังคมให้กับสมาชิกในสังคม ส่วนคติธรรม สามารถใช้ได้ทั้งสองลักษณะที่บอกมา
นอกจากนี้ถ้าเรานำวัฒนธรรมไปมองในระดับรัฐ วัฒนธรรมจะถูกจัดออกมาใน 2 ระดับ คือ
วัฒนธรรมหลัก หมายถึง วัฒนธรรมรวมของคนในรัฐหรือประเทศนั้น กรณีของวัฒนธรรมหลักของไทย เช่น เพลงชาติ ระบบภาษาเขียนของไทย อาหารไทยประเภทต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน
วัฒนธรรมย่อยหรือวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น เช่น แกงฮังเล ไส้อั่ว อาหารของคนในภาคเหนือ หนังตะลุง ศิลปะและภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนภาคใต้
วัฒนธรรมยังมีลักษณะเฉพาะตัวในแบบของมัน คือ
- วัฒนธรรมเกิดจากกระบวนการเรียนรู้และสร้างสรรค์ของมนุษย์ (จากที่ได้เล่าให้ฟังไปในบทที่ผ่านมาซึ่งเทียบวัฒนธรรมกับสัญชาตญาณ)
- วัฒนธรรม เป็นมรดกทางสังคมซึ่งได้จากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ซึ่งการขัดเกลาในที่นี้ก็คือ การสอน อบรม ถ่ายทอด หรือเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้วัฒนธรรมคงอยู่และมีการสืบทอดต่อไป หากวัฒนธรรมไม่เกิดการเรียนรู้ ย่อมไม่มีการถ่ายทอดต่อ และเมื่อไม่ถ่ายทอดต่อ วัฒนธรรมนั้นๆ ย่อมสูญหายไปในที่สุด
- วัฒนธรรมมีความหลากหลาย และมีลักษณะเป็นพลวัต (Dynamic) หรือสามารถเปลี่ยนแปลงได้ นั่นหมายความว่า วัฒนธรรมต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา หากหยุดนิ่ง นั่นย่อมหมายความว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคสมัย ท้ายสุดจะสูญสลายไปนั่นเอง
มาถึงตรงจุดนี้คิดว่าทุกคนคงได้เรียนรู้ concept เกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมไปพอควรแล้ว ตอนนี้เราจะมาวิเคราะห์ต่อยอดเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรม โดยจุดที่อยากหยิบมาเขียนจะเกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมในหัวข้อที่ 2–3 ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้โยงไปได้ถึงเรื่องการอนุรักษ์วัฒนธรรม หากทุกคนจำกันได้ มีประเด็น drama ราวๆ 3 ปีก่อน เกี่ยวกับ music video ที่ใช้เพื่อโปรโมทการท่องเที่ยวไทยจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่นำเอายักษ์ทศกัณฐ์และบริวาร ตัวละครสำคัญจากเรื่องรามเกียรติ์มาใช้เป็นการโปรโมท
ไม่นานหลังจากโฆษณานี้ออกไป ก็มี drama ตามมาทันทีตามสไตล์คนไทย 555 ซึ่งไม่ต้องบอกก็รู้ว่ามาจากคนกลุ่มไหน ในเชิงรัฐศาสตร์ เราจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกอนุรักษ์นิยมหรือ Conservative เป็นพวกที่อยากคงความเป็นมรดกในอดีตไว้ไม่อยากให้ปรับเปลี่ยน โดยประเด็น Drama จากเรื่องนี้ คือ
“พวกเขาไม่เห็นด้วยกับการนำทศกัณฐ์ซึ่งแต่งออกมาในชุดโขน มาแสดงในลักษณะเช่นนี้ เพราะทำให้เสียเกียรติในแง่ที่ว่า โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูง แต่เดิมเป็นการแสดงให้กับราชสำนักหรือเพื่อเป็นเกียรติแก่อาคันตุกะจากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งยังว่าทศกัณฐ์เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ วรรณคดีที่สัมพันธ์โดยตรงกับสถาบันกษัตริย์ การนำลงมาทำเป็น mv (music video) แบบนี้จึงดูไม่เหมาะสม“
แน่นอนเมื่อมีประเด็น Drama แบบนี้ออกมา โฆษณาซึ่งเกิดจากการตัดต่อ mv นี้จึงต้องถูกระงับการเผยแพร่ไป และก็กลายเป็นประเด็น talk of the town ไประยะหนึ่ง สำหรับผู้เขียนเห็นว่า
“การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและสร้างให้เกิดรูปแบบใหม่ๆ เป็นเรื่องปกติ ซ้ำยังก่อให้เกิดการอนุรักษ์สืบสานจากคน generation ใหม่ๆ ตามมาด้วย”
ที่แสดงความคิดแบบนี้ ใช่ว่าผู้เขียนจะมองจากความคิดตนเองเป็นหลัก อยากให้ผู้อ่านลองย้อนไปลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมในหัวข้อที่ 2–3 แล้วจะพบว่า
ด้วยเหตุนี้เมื่อมองจาก mv โฆษณาตัวนี้ก็ตรงตามที่บอกมาทุกอย่าง ลองคิดดูว่า เราจะทำให้โขนเป็นเพียงศิลปะการแสดง ซึ่งก็รู้ๆ กันอยู่ว่ามันเข้าถึงยากแค่ไหน ตามลักษณะทั้งในแง่การชมให้เข้าใจ หรือการเข้าไปแสดง เพราะมันต้องอาศัยการฝึกฝนพอสมควรจึงจะแสดงออกมาได้ดี การทำ mv โฆษณาแบบนี้ออกมาจะทำให้เด็กหรือคน generation ใหม่ๆ เกิดความสนใจ อย่างน้อยที่สุด เค้าจะต้องสงสัยแน่ๆ ว่ายักษ์นั่นชื่ออะไร? เอ๊ะ..การแต่งกายในลักษณะแบบนี้เรียกว่าอะไรนะ? ก่อเกิดแรงบันดาลใจหรือ inspire ที่จะนำไปสู่การสืบค้นข้อมูล หรือเด็กบางคนอาจเกิดความสนใจไปเรียนโขนเองเลยก็ได้ ใครจะรู้…..
อีกประเด็นที่ว่า การนำยักษ์ทศกัณฐ์มาใช้เป็นตัวละครแบบนี้ไม่เหมาะสม ตรงนี้ก็ไม่รู้ว่าคนค้านเอาเหตุผลมาจากไหน เพราะเอาเข้าจริงเค้าก็ไม่ได้หยิบ พระราม ซึ่งเรารู้กันอยู่ว่าอวตารจากพระวิษณุ ซึ่งสื่อถึงพระมหากษัตริย์ตามแนวคิดเทวราชา มาใช้เกี่ยวกับ mv โฆษณาตัวนี้ซักหน่อย
จากที่เล่า+วิเคราะห์แสดงความคิดเห็นประกอบกันไปด้วยนี้ ผู้เขียนจึงอยากสรุปว่า
“วัฒนธรรม มันต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามเวลาของมันตามแต่ความเหมาะสม (มีเงื่อนไขของการปรับเปลี่ยน ไม่ใช่เข้าไปทำลายรากฐานทางวัฒนธรรมในสิ่งนั้นๆ เลย) เพื่อให้ตัวมันเกิดการสืบสาน เรียนรู้ ถ่ายทอดกลายเป็นมรดกให้คนรุ่นต่อไปได้อีก”
ไม่ใช่คงสภาพมันเอาไว้แบบเดิม เหมือนที่หลายคนบอกว่า “เก็บขึ้นหิ้งให้คนได้แต่บูชา” นั่นหละ 5555 หรือผู้อ่านคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้? สามารถบอกกล่าวกันมาได้นะครับ
และนี่คือทั้งหมดของเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่อยากเขียนเล่า และส่งต่อให้กับทุกคน อาจจะยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจเหลืออยู่ ก็อาจเก็บไว้ในโอกาสต่อๆ ไปนะครับ สำหรับบทหน้า เราจะไปเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับคำว่า อารยธรรม กันบ้าง จะเป็นเรื่องอะไรนั้น รอติดตามนะครับ….
You are so awesome! I do not believe I’ve read through something like that before.
So good to discover another person with genuine thoughts on this
issue. Seriously.. thank you for starting this up.
This web site is something that is needed on the internet,
someone with a little originality!
[url=https://topfootgood.com/]แกงฮังเล รสชาติ[/url]
วิธีทำแกงฮังเล