แม้ปัจจุบันจะเริ่มผันตัวเองไปเป็นไกด์แล้ว แต่ก็ยังรักงานสอน และก็ยังทำประกอบกันไปกับการเป็นไกด์ ความรู้สึกที่ชอบเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวทางสังคมและวัฒนธรรมตั้งแต่เด็ก จึงหล่อหลอมให้พัฒนาสู่อาชีพทั้งสองในปัจจุบัน แต่ก็ยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาเพิ่มเติมกรณีที่เริ่มมองอาชีพไกด์เป็นตัวเสริมกับงานครู คือ จริงๆ ภาษาเนี่ยก็ไม่ได้เกลียดหรอก แต่เรียนทีไรก็ไม่ได้ดีซักที… อาจเป็นเพราะมีโอกาสในการใช้น้อยครับ
เขียนผ่านไป 1 ย่อหน้า สิ่งที่อยากจะเล่าก็คือ เรื่องราวเกี่ยวกับงานที่ผู้เขียนทำอยู่ ซึ่งก็คือ การเป็นครูสอนวิชาสังคมศึกษา นั่นเอง จากประสบการณ์ที่สอนในโรงเรียนถึง 3 ที่ และสอนพิเศษทั่วไปอีก มีสิ่งที่เหมือนๆ กันอย่างหนึ่ง คือ
“วิชาสังคมศึกษามักเป็นวิชาที่ถูกลืมหรือให้ความสำคัญน้อยมาก”
แม้จะถูกกำหนดเป็น 5 วิชาหลัก ไปด้วยกันกับวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาทั้งประถมและมัธยม แต่พอลำดับจริงๆ กลับเป็นว่า วิชานี้รั้งท้ายในแง่ความสำคัญ คนส่วนใหญ่จะมองเพียงว่าเป็นวิชาท่องจำ ไม่เห็นต้องเรียนไรเยอะ แค่เด็กท่องทุกวันเดี๋ยวก็ได้
แต่เอ๋….จริงๆ มันใช่หรือ?
เอาเป็นว่าผู้เขียนขอทำความเข้าใจกับผู้อ่านก่อนละกันว่าวิชานี้มันมีเนื้อหาอะไรบ้าง ซึ่งถ้าผู้อ่านทราบตรงนี้แล้วก็จะเข้าใจทันทีว่าความจริงวิชานี้มันไม่ได้ง่ายเลย ถ้าเรียนลึกกันจริงๆ และก็ไม่ใช่เน้นที่การท่องจำอย่างเดียวแบบที่คนส่วนใหญ่คิดเสียด้วยสิ ปัจจุบันเนื้อหาในวิชาสังคมศึกษาประกอบด้วย 5 บทใหญ่ คือ ศาสนา (ค่อนข้างเน้นพุทธศาสนา) หน้าที่พลเมือง (มี 3 เนื้อหาย่อยถ้ามองเชิงสังคมศาสตร์ คือ สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์) เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ อาจจะจริงหรือถูกที่ว่า วิชานี้มีเนื้อหาเยอะมาก แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นวิชาที่ต้องท่องจำอย่างเดียว คือ
“มองกันจริงๆ มันสำคัญมากเลยนะ สำหรับการที่เด็กประถม มัธยม จะต้องเรียนวิชานี้เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันรวมถึงในอนาคตของพวกเขาได้ แต่สิ่งที่พูดมาจะไร้ประโยชน์อย่างสิ้นเชิง หากว่าการเรียนการสอนที่เป็นอยู่เน้นเพียงให้เด็กจำในสิ่งที่เรียนให้ได้ โดยไม่ฝึกให้พวกเขาได้คิดวิเคราะห์ประกอบกันไป “
ประสบการณ์ที่เคยสอนมา บอกให้ผู้เขียนทราบว่าครูที่สอนวิชานี้ส่วนใหญ่จะเน้นเพียงให้เด็กทำใบงาน ทำรายงานซึ่งส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นใช้อากู๋ (Google) ลอกมาส่งๆ นั่นเอง แล้วครูก็ติ๊กๆ ผ่านๆ ไป คือ มีเหมือนกันที่สั่งงานดีๆ แต่ส่วนใหญ่เห็นน้อยถึงน้อยมากครับ
อย่างผู้เขียนเคยสั่งให้เด็กที่เรียนในเนื้อหาประวัติศาสตร์กับผู้เขียนทำหนังสือนำเที่ยวโดยต้องไปเรียนรู้จากพื้นที่จริงแล้วถ่ายรูปมาติดในหนังสือนำเที่ยวนั้น เพราะข้อจำกัดในด้านเวลา ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะขอพาเด็กออกนอกสถานที่ แต่สุดท้ายเป็นไง โดนเขม่นจากครูรุ่นพี่อีก ที่พูดมายืดยาวนี่ไม่ใช่อยากจะบ่นหรอกครับ แต่อยากแชร์เรื่องราวให้หลายคนที่อาจจะไม่ได้อยู่ในวงการนี้ได้รับรู้ และในบทความต่อๆ ไป ผู้เขียนจะแชร์เรื่องราวเนื้อหาของวิชาสังคมศึกษาออกมาอีกเรื่อยๆ อย่างน้อยหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน และเข้าใจถึงความสำคัญของวิชาจนสามารถนำไปใช้ได้ครับ ไม่จำกัดเฉพาะแค่เด็กนักเรียนนะ คนทั่วไปสามารถอ่านได้ครับ เพราะสังคมศึกษามันก็คือเรื่องราวที่อยู่รอบตัวเราในชีวิตประจำวันนั่นเองครับ….
เพราะสังคมศึกษามันก็คือเรื่องราวที่อยู่รอบตัวเราในชีวิตประจำวันนั่นเองครับ….
This article offers a fascinating perspective on the subject. The depth of research and clarity in presentation make it a valuable read for anyone interested in this topic. It’s refreshing to see such well-articulated insights that not only inform but also provoke thoughtful discussion. I particularly appreciated the way the author connected various aspects to provide a comprehensive understanding. It’s clear that a lot of effort went into compiling this piece, and it certainly pays off. Looking forward to reading more from this author and hearing other readers’ thoughts. Keep up the excellent work!
Thank You so much for your comment. Hope my article will be useful for you.