[mailpoet_page]
MailPoet Page
Related Post
ถึงเวลาที่เราต้องปรับการเรียนรู้สังคมศึกษาอย่างจริงจังแล้วหรือยัง?ถึงเวลาที่เราต้องปรับการเรียนรู้สังคมศึกษาอย่างจริงจังแล้วหรือยัง?
ครั้งที่แล้วได้พูดถึงภาพรวมของการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา รวมถึงปัญหาจากการเรียนการสอนวิชานี้ในประเทศไทยไปคร่าวๆ ซึ่งสรุปได้ง่ายๆ คือ เนื้อหามาก เน้นจำ การให้ความสำคัญต่อวิชานี้ในสังคมไทยนั้นยังถือว่าต่ำมากถึงมากที่สุด แม้หลายคนจะเห็นความสำคัญอยู่บ้าง แต่การที่จะหาใครสักคนเข้ามาเปลี่ยนดูเหมือนจะยากเหมือนงมเข็มในมหาสมุทรเลยทีเดียว ในครั้งนี้จึงอยากให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความสำคัญของวิชานี้ รวมถึงวิธีที่ผู้เขียนอยากเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้สังคมไทยของเราได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยเมื่อเราพูดถึงความสำคัญของวิชาสังคมศึกษา เราสามารถมองได้ทั้งในระดับของตัวผู้ศึกษาเอง และสังคมโดยรวม ในฐานะที่ผู้เขียนผ่านการเรียนในสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษามา เค้าจะบอกว่าเป้าหมายหรือความสำคัญสูงสุดของวิชานี้ คือ การทำให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม อย่างไรก็ตามหากเราตีความคำๆ นี้ดีๆ จะเห็นได้ว่ามันตีความได้ 2 แบบ แบบแรกคือเป็นพลเมืองดีในแบบที่รัฐต้องการหรืออยากให้เป็น แบบที่สองคือการเป็นพลเมืองที่ดีที่สามารถนำพาไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและการพัฒนาประเทศได้ในอนาคต แน่นอนว่า…การตีความในแบบที่สองย่อมดีกว่าแบบแรก เพราะนั่นหมายความว่าผู้เรียนจะสามารถจดจำ คิดวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ตนเรียนมาสู่ชีวิตของพวกเขาได้ แต่ถ้าถามว่า….ที่ผ่านมาการศึกษาวิชานี้ในบ้านเรา มันไปตอบโจทย์ความหมายของพลเมืองดีในการตีความแบบที่สองไหม? คำตอบคงมีชัดเจนแล้วจากในบทความแรกที่ผู้เขียนได้กล่าวไป
“วัฒนธรรม” สิ่งที่บ่งชี้ความเป็นมนุษย์“วัฒนธรรม” สิ่งที่บ่งชี้ความเป็นมนุษย์
ในบทที่แล้วเราได้พอรู้จักความหมายของคำว่า วัฒนธรรม และความแตกต่างของคำนี้กับคำว่า อารยธรรม ซึ่งก็อย่างที่บอกไปมีคนนำไปใช้ผิดพอสมควร ในบทนี้อยากชวนผู้อ่านได้มาลองดูในเรื่องความสำคัญของวัฒนธรรมต่อมนุษย์กันบ้าง เมื่อจบบททุกคนจะได้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า วัฒนธรรมมันสำคัญหรือจำเป็นต่อมนุษย์ยังไง? ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลย…. เวลาที่เราพูดถึงคำว่า วัฒนธรรม สิ่งหนึ่งที่อยากให้ผู้อ่านได้รับรู้ไว้เลยก็คือ “มันเป็นสิ่งที่มีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น และยังเป็นสิ่งบ่งชี้สำคัญว่ามนุษย์แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานอื่นๆ” แม้วัฒนธรรมจะมีความสำคัญในข้ออื่นๆ อีกหลากหลาย แต่นี่คือความสำคัญสูงสุดของคำนี้ เกี่ยวกับเรื่องนี้มีประสบการณ์จากการสอนที่น่าสนใจอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง ตอนสอนนักเรียนครั้งหนึ่งเคยตั้งคำถามกับนักเรียนในข้อสอบแบบอัตนัยว่า “เห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า วัฒนธรรมมีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น จงแสดงเหตุผลประกอบ“ ซึ่งคำตอบที่ออกมาจะต้องตอบว่าเห็นด้วยดังที่ได้อธิบายไปแล้ว และคะแนนจะมากหรือน้อยดูกันที่เหตุผล แต่ทว่ามีนักเรียนคนหนึ่งเขียนคำตอบมาว่า ไม่เห็นด้วย พร้อมตั้งคำถามจากเหตุผลที่เค้าเขียนมาว่า “จริงๆ แล้วสัตว์ไม่มีวัฒนธรรมจริงหรือ? เช่น การที่มดสามารถสร้างรัง แบ่งหน้าที่ การที่สุนัขหรือแมวมีกฎไม่ถ่ายรดในพื้นที่เดียวกัน
วัฒนธรรมกับอารยธรรม มันเหมือนหรือต่างกันยังไงหนอ?วัฒนธรรมกับอารยธรรม มันเหมือนหรือต่างกันยังไงหนอ?
ได้บอกเล่าเรื่องราวที่สัมพันธ์กับเนื้อหาทางรัฐศาสตร์ไป 3 บทละ มาในบทนี้ขอเปลี่ยนโหมดไปที่ประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็น part ที่ถนัดสุดของผู้เขียนบ้าง แต่จะว่าไปแล้วเรื่องราวที่จะมาแชร์ให้ผู้อ่านในวันนี้มันก็ไม่ได้เป็นประวัติศาสตร์เสียทั้งหมด บางส่วนก็ยังสัมพันธ์กับเนื้อหาทางสังคมวิทยาอยู่บ้าง หากผู้อ่านยังพอจำกันได้อยู่ก้อน่าจะรู้ว่าเนื้อหาสังคมวิทยากับรัฐศาสตร์ มันรวมอยู่ในสาระหน้าที่พลเมืองนั่นเอง แต่คิดว่าส่วนใหญ่น่าจะลืมนะ 555 ไม่เป็นไรผ่านๆ ไปต่อกันเลย เนื้อหาที่จะยกขึ้นมาเขียนวันนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคำว่า วัฒนธรรมกับอารยธรรม ซึ่งเชื่อแน่ว่าผู้อ่านทุกคนต้องเคยได้ยินคำทั้งสองมาแล้วอย่างแน่นอน แต่ปัญหาคืออาจจะยังไม่รู้หรือเข้าใจความต่างของคำทั้งสองอย่างแท้จริง จริงๆ ทั้งสองคำนี้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกัน ถือเป็นส่วนหนึ่งในกันและกัน หากพิจารณาในเชิงความหมายและการนำไปใช้ นิยามที่ให้อาจต่างกันบ้าง แต่รวมๆ จะมีเนื้อความหมายหลักคล้ายกัน ดังนั้นเริ่มแรกเราไปดูที่ความหมายตามการบัญญัติศัพท์ของสำนักราชบัณฑิตยสภากันก่อน จากนั้นจึงค่อยไปเทียบความเหมือนความต่างและการนำไปใช้อย่างถูกต้อง วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของสังคม