Author: insightsocialstudiesbykrupap

ชุมชนกุฎีจีน; หลากหลายวัฒนธรรมแต่กลมกลืนในตัวเอง (ตอน 2)ชุมชนกุฎีจีน; หลากหลายวัฒนธรรมแต่กลมกลืนในตัวเอง (ตอน 2)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้เกริ่นนำเกี่ยวกับความเป็นมาของชุมชนกุฎีจีน ชุมชนแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม และนำเสนอสถานที่สำคัญ 2 ที่ ซึ่งเป็นที่มาและจุดเริ่มต้นของความเป็น ชุมชนกุฎีจีน นั่นคือ ศาลเจ้าเกียนอันเก่ง และโบสถ์+ชุมชนซานตาครูส ใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนแรกก็กลับไปอ่านกันก่อนได้นะครับ (กดตาม link ที่ให้ได้เลย) จะได้อินกันต่อกับชุมชนแห่งนี้ได้มากขึ้น ชุมชนกุฎีจีนนอกจากศาลเจ้าพื้นที่ความเชื่อในพุทธมหายาน+เต๋า และโบสถ์พื้นที่ความเชื่อของชาวคาทอลิก ยังมีสถานที่น่าสนใจและเป็นพื้นที่ในอีก 2 วัฒนธรรมความเชื่อ เริ่มที่สถานที่แรกกันเป็นศาสนสถานในความเชื่อของชาวพุทธเถรวาท แต่ก็แฝงความเชื่ออื่นผสมปนอยู่ด้วย สมกับที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนกุฎีจีน ชุมชนแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่เอ….เป็นที่ใดกันนะ มาร่วมทัศนากันต่อเลยครับ…. วัดกัลยาณมิตร; พื้นที่วัฒนธรรมความเชื่อของชาวจีนใน ชุมชนกุฎีจีน

ชุมชนกุฎีจีน; หลากหลายวัฒนธรรมแต่กลมกลืนในตนเอง (ตอนที่ 1)ชุมชนกุฎีจีน; หลากหลายวัฒนธรรมแต่กลมกลืนในตนเอง (ตอนที่ 1)

ด้วยเพราะเคยเขียนถึงเรื่องวัฒนธรรมไว้หลายตอน แต่ส่วนใหญ่เป็นทฤษฎี มาใน blog นี้ เลยอยากชวนทุกคนได้ไปสัมผัสกับวัฒนธรรมผ่านวิถีของผู้คนจริงๆ โดยสถานที่ที่ผู้เขียนจะเลือกมาเล่านี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับเรื่องความหลากหลาย หนึ่งในลักษณะเด่นของสังคมไทยได้ด้วย สถานที่นี้ก็คือ “ชุมชนกุฎีจีน” ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในเขตธนบุรีปัจจุบัน อีกเหตุผลหนึ่งที่เลือกชุมชนนี้ ก็เพราะคือเส้นทางหนึ่งที่ผู้เขียนได้ทำทัวร์อยู่ เลยรู้สึกถึงความน่าสนใจทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะในเรื่องความหลากหลายแต่สามารถหลอมรวมกันได้อย่างลงตัว ชุมชนกุฎีจีน : ชุมชนฝั่งธนที่มีประวัติย้อนหลังได้ถึงสมัยธนบุรี ชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือก็คือฝั่งธนบุรีนั่นเอง โดยประวัติของชุมชนนี้เริ่มต้นที่สมัยธนบุรี (พ.ศ. 2310–2325) เวลาไปเที่ยวและอยากค่อยๆ สัมผัสตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชุมชนนี้ ผู้เขียนแนะนำให้ไปที่ ศาลเจ้าเกียนอันเก่ง และโบสถ์ซานตาครูสก่อนเลย รับรองได้อินตั้งแต่จุดเริ่มแน่นอน ดังนั้นไม่รอช้า เราไปย้อนหลังประวัติของชุมชน ผ่านสองสถานที่นี้กัน

มนุษย์สร้างและใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมอย่างไรกัน?มนุษย์สร้างและใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมอย่างไรกัน?

บทที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะตัวของมนุษย์ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ โดยมีจุดแบ่งสำคัญ คือ การที่มนุษย์สามารถสร้างสรรค์วัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อบ่งชี้ความเจริญและกลบสัญชาตญาณลงไป มาในบทนี้ เราจะลงลึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับมนุษย์ให้มากขึ้น ว่าเราสร้างและใช้ประโยชน์จากมันในลักษณะใดๆ บ้าง ซึ่งเรื่องการใช้ประโยชน์นี้ยังสามารถเชื่อมไปได้ถึงเรื่องการอนุรักษ์ด้วย ถ้าพร้อมแล้วเรามาลุยกันเลย….. เกี่ยวกับความหมาย และลักษณะเฉพาะตัวได้คุยกันไปใน 2 บทที่ผ่านมาแล้ว.. ดังนั้นในบทนี้จึงอยากขยายเกี่ยวกับประเภท รูปแบบ และลักษณะอื่นๆ ของวัฒนธรรม บ้าง เพื่อจะได้วิเคราะห์เชื่อมโยงไปถึงการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ได้เข้าใจมากขึ้น ปัจจุบันวัฒนธรรมสามารถแบ่งได้หลากหลายประเภทมาก แต่ที่นิยมใช้เป็นเกณฑ์มากที่สุด คือ เกณฑ์ที่กำหนดจากพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ซึ่งจะแบ่งวัฒนธรรมเป็น 4 ลักษณะ คือ วัฒนธรรมประเภทคติธรรม ได้แก่ พวกคติความเชื่อ

“วัฒนธรรม” สิ่งที่บ่งชี้ความเป็นมนุษย์“วัฒนธรรม” สิ่งที่บ่งชี้ความเป็นมนุษย์

ในบทที่แล้วเราได้พอรู้จักความหมายของคำว่า วัฒนธรรม และความแตกต่างของคำนี้กับคำว่า อารยธรรม ซึ่งก็อย่างที่บอกไปมีคนนำไปใช้ผิดพอสมควร ในบทนี้อยากชวนผู้อ่านได้มาลองดูในเรื่องความสำคัญของวัฒนธรรมต่อมนุษย์กันบ้าง เมื่อจบบททุกคนจะได้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า วัฒนธรรมมันสำคัญหรือจำเป็นต่อมนุษย์ยังไง? ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลย…. เวลาที่เราพูดถึงคำว่า วัฒนธรรม สิ่งหนึ่งที่อยากให้ผู้อ่านได้รับรู้ไว้เลยก็คือ  “มันเป็นสิ่งที่มีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น และยังเป็นสิ่งบ่งชี้สำคัญว่ามนุษย์แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานอื่นๆ”  แม้วัฒนธรรมจะมีความสำคัญในข้ออื่นๆ อีกหลากหลาย แต่นี่คือความสำคัญสูงสุดของคำนี้ เกี่ยวกับเรื่องนี้มีประสบการณ์จากการสอนที่น่าสนใจอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง ตอนสอนนักเรียนครั้งหนึ่งเคยตั้งคำถามกับนักเรียนในข้อสอบแบบอัตนัยว่า  “เห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า วัฒนธรรมมีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น จงแสดงเหตุผลประกอบ“  ซึ่งคำตอบที่ออกมาจะต้องตอบว่าเห็นด้วยดังที่ได้อธิบายไปแล้ว และคะแนนจะมากหรือน้อยดูกันที่เหตุผล แต่ทว่ามีนักเรียนคนหนึ่งเขียนคำตอบมาว่า ไม่เห็นด้วย พร้อมตั้งคำถามจากเหตุผลที่เค้าเขียนมาว่า  “จริงๆ แล้วสัตว์ไม่มีวัฒนธรรมจริงหรือ? เช่น การที่มดสามารถสร้างรัง แบ่งหน้าที่ การที่สุนัขหรือแมวมีกฎไม่ถ่ายรดในพื้นที่เดียวกัน

วัฒนธรรมกับอารยธรรม มันเหมือนหรือต่างกันยังไงหนอ?วัฒนธรรมกับอารยธรรม มันเหมือนหรือต่างกันยังไงหนอ?

ได้บอกเล่าเรื่องราวที่สัมพันธ์กับเนื้อหาทางรัฐศาสตร์ไป 3 บทละ มาในบทนี้ขอเปลี่ยนโหมดไปที่ประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็น part ที่ถนัดสุดของผู้เขียนบ้าง แต่จะว่าไปแล้วเรื่องราวที่จะมาแชร์ให้ผู้อ่านในวันนี้มันก็ไม่ได้เป็นประวัติศาสตร์เสียทั้งหมด บางส่วนก็ยังสัมพันธ์กับเนื้อหาทางสังคมวิทยาอยู่บ้าง หากผู้อ่านยังพอจำกันได้อยู่ก้อน่าจะรู้ว่าเนื้อหาสังคมวิทยากับรัฐศาสตร์ มันรวมอยู่ในสาระหน้าที่พลเมืองนั่นเอง แต่คิดว่าส่วนใหญ่น่าจะลืมนะ 555 ไม่เป็นไรผ่านๆ ไปต่อกันเลย เนื้อหาที่จะยกขึ้นมาเขียนวันนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคำว่า วัฒนธรรมกับอารยธรรม ซึ่งเชื่อแน่ว่าผู้อ่านทุกคนต้องเคยได้ยินคำทั้งสองมาแล้วอย่างแน่นอน แต่ปัญหาคืออาจจะยังไม่รู้หรือเข้าใจความต่างของคำทั้งสองอย่างแท้จริง จริงๆ ทั้งสองคำนี้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกัน ถือเป็นส่วนหนึ่งในกันและกัน หากพิจารณาในเชิงความหมายและการนำไปใช้ นิยามที่ให้อาจต่างกันบ้าง แต่รวมๆ จะมีเนื้อความหมายหลักคล้ายกัน ดังนั้นเริ่มแรกเราไปดูที่ความหมายตามการบัญญัติศัพท์ของสำนักราชบัณฑิตยสภากันก่อน จากนั้นจึงค่อยไปเทียบความเหมือนความต่างและการนำไปใช้อย่างถูกต้อง วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของสังคม

นัยยะที่ซ่อนอยู่ในความหมายของคำว่า ประชาชน ราษฎร พลเมืองนัยยะที่ซ่อนอยู่ในความหมายของคำว่า ประชาชน ราษฎร พลเมือง

ใน 2 บทที่ผ่านมา ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับคำว่า รัฐ ประเทศ รัฐชาติ ไป ทั้งในแง่ความหมาย การตีความ โดยมีการเชื่อมโยงสู่ปัญหาความขัดแย้งในโลกยุคปัจจุบันด้วย ซึ่งตอนแรกก็คิดว่าจะเปลี่ยนโหมดออกจากพวกรัฐศาสตร์บ้าง แต่มาคิดๆ ดู แล้วมันยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจจากเรื่องนี้เกี่ยวกับการแยกความเหมือนความต่างของคนที่อยู่ในรัฐจากคำนิยามต่างๆ เหลืออีกเล็กน้อย ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาสอนก็มักหยิบขึ้นมาถามนักเรียนอยู่เสมอ  “เพราะคิดว่า มันเป็นคำที่คุ้นหูเราเหลือเกิน แต่เราจะเข้าใจความหมายที่แท้จริง หรือใช้คำเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องไหมน่า?” ในที่นี้จะพิจารณาตามความหมายที่ปรากฎใน website สำนักงานของราชบัณฑิตยสภา ประชาชน เป็นคำที่เกิดจากคำว่า ประชา คือ กลุ่มคน และชน หมายถึง

Drama ฮ่องกง-ไต้หวัน เราควรจะจัดกลุ่ม 2 พื้นที่นี้ว่าอยู่ในสถานะไหนดี?Drama ฮ่องกง-ไต้หวัน เราควรจะจัดกลุ่ม 2 พื้นที่นี้ว่าอยู่ในสถานะไหนดี?

สืบเนื่องจากบทก่อน ที่ยังเล่าได้ไม่หมด เพราะคิดว่าประเด็นนี้ดูน่าจะต้องพูดอีกยาว เลยจัดให้เป็นบทใหม่เลยจะดีกว่า… คิดว่าหลายคนคงได้ยินประเด็น drama เกี่ยวกับฮ่องกงและไต้หวัน มาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะกรณีฮ่องกง ซึ่งบานปลายกลายเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ รวมถึงเป็นกระแสจากดาราที่แสดงในละครวายของไทยด้วย ซึ่งแน่นอนก็มีหลายฝ่ายพูดกันไปต่างๆ นานา “ประเด็นสำคัญจาก Drama ในเรื่องนี้ คือ ความจริงแล้ว เราควรเรียกไต้หวัน และฮ่องกง ว่าเป็นประเทศ หรือเป็นรัฐ ได้ไหม? แล้วการเรียกร้องสิทธิโดยเฉพาะกรณีฮ่องกง นี่ถือว่าถูกต้องในเชิงรัฐศาสตร์หรือไม่?”  ในบทนี้เราจะมาหาคำตอบในประเด็นนี้กันโดยเชื่อมโยงความรู้จากเนื้อหาที่เล่าไปแล้วในบทที่ผ่านมา สำหรับผู้อ่านท่านใดที่เพิ่งเข้ามาอ่านในบทนี้ แล้วอยากทราบเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการแยกรัฐกับชาติย้อนกลับไปดูในบทก่อนหน้านี้ได้นะครับ เริ่มจาก ไต้หวัน ก่อน ไต้หวันหรือเกาะฟอร์โมซา เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี ค.ศ. 1949 โดยผู้สถาปนา

ไขความหมายของคำว่า รัฐ ชาติ ประเทศ มันคืออะไร และมีอะไรซ่อนอยู่ในคำเหล่านี้ไหม?ไขความหมายของคำว่า รัฐ ชาติ ประเทศ มันคืออะไร และมีอะไรซ่อนอยู่ในคำเหล่านี้ไหม?

หลังจาก Intro ผ่านไป 2 บท ครั้งนี้ถึงเวลาต้องเอาเกร็ดความรู้จากวิชาสังคมมาเล่าสู่กันฟังละ เริ่มแรกด้วยเรื่องราวที่มาจากเนื้อหาทางรัฐศาสตร์ เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินคำว่า รัฐ ชาติ หรือประเทศ กันมาบ้าง แต่เคยนึกสงสัยกันไหมว่า สามคำนี้มันคืออะไรกันแน่? มีความแตกต่างกันบ้างไหม? มีนัยยะของความหมายอะไรที่ซ่อนอยู่ในคำเหล่านี้หรือไม่? ในบทนี้เราจะมาร่วมไขคำตอบของคำทั้งสามนี้กัน! เริ่มจากคำว่า “รัฐ” (State) ความหมายของคำนี้ จะเน้นไปที่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมือง นิยามหลักๆ ของมัน คือ “ชุมชนทางการเมือง” ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (ในที่นี่จะหมายรวมถึงคน 3 กลุ่ม คือ พลเมือง กลุ่มชาติพันธุ์