Category: การท่องเที่ยว

ชุมชนกุฎีจีน; หลากหลายวัฒนธรรมแต่กลมกลืนในตัวเอง (ตอน 2)ชุมชนกุฎีจีน; หลากหลายวัฒนธรรมแต่กลมกลืนในตัวเอง (ตอน 2)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้เกริ่นนำเกี่ยวกับความเป็นมาของชุมชนกุฎีจีน ชุมชนแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม และนำเสนอสถานที่สำคัญ 2 ที่ ซึ่งเป็นที่มาและจุดเริ่มต้นของความเป็น ชุมชนกุฎีจีน นั่นคือ ศาลเจ้าเกียนอันเก่ง และโบสถ์+ชุมชนซานตาครูส ใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนแรกก็กลับไปอ่านกันก่อนได้นะครับ (กดตาม link ที่ให้ได้เลย) จะได้อินกันต่อกับชุมชนแห่งนี้ได้มากขึ้น ชุมชนกุฎีจีนนอกจากศาลเจ้าพื้นที่ความเชื่อในพุทธมหายาน+เต๋า และโบสถ์พื้นที่ความเชื่อของชาวคาทอลิก ยังมีสถานที่น่าสนใจและเป็นพื้นที่ในอีก 2 วัฒนธรรมความเชื่อ เริ่มที่สถานที่แรกกันเป็นศาสนสถานในความเชื่อของชาวพุทธเถรวาท แต่ก็แฝงความเชื่ออื่นผสมปนอยู่ด้วย สมกับที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนกุฎีจีน ชุมชนแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่เอ….เป็นที่ใดกันนะ มาร่วมทัศนากันต่อเลยครับ…. วัดกัลยาณมิตร; พื้นที่วัฒนธรรมความเชื่อของชาวจีนใน ชุมชนกุฎีจีน

ชุมชนกุฎีจีน; หลากหลายวัฒนธรรมแต่กลมกลืนในตนเอง (ตอนที่ 1)ชุมชนกุฎีจีน; หลากหลายวัฒนธรรมแต่กลมกลืนในตนเอง (ตอนที่ 1)

ด้วยเพราะเคยเขียนถึงเรื่องวัฒนธรรมไว้หลายตอน แต่ส่วนใหญ่เป็นทฤษฎี มาใน blog นี้ เลยอยากชวนทุกคนได้ไปสัมผัสกับวัฒนธรรมผ่านวิถีของผู้คนจริงๆ โดยสถานที่ที่ผู้เขียนจะเลือกมาเล่านี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับเรื่องความหลากหลาย หนึ่งในลักษณะเด่นของสังคมไทยได้ด้วย สถานที่นี้ก็คือ “ชุมชนกุฎีจีน” ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในเขตธนบุรีปัจจุบัน อีกเหตุผลหนึ่งที่เลือกชุมชนนี้ ก็เพราะคือเส้นทางหนึ่งที่ผู้เขียนได้ทำทัวร์อยู่ เลยรู้สึกถึงความน่าสนใจทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะในเรื่องความหลากหลายแต่สามารถหลอมรวมกันได้อย่างลงตัว ชุมชนกุฎีจีน : ชุมชนฝั่งธนที่มีประวัติย้อนหลังได้ถึงสมัยธนบุรี ชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือก็คือฝั่งธนบุรีนั่นเอง โดยประวัติของชุมชนนี้เริ่มต้นที่สมัยธนบุรี (พ.ศ. 2310–2325) เวลาไปเที่ยวและอยากค่อยๆ สัมผัสตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชุมชนนี้ ผู้เขียนแนะนำให้ไปที่ ศาลเจ้าเกียนอันเก่ง และโบสถ์ซานตาครูสก่อนเลย รับรองได้อินตั้งแต่จุดเริ่มแน่นอน ดังนั้นไม่รอช้า เราไปย้อนหลังประวัติของชุมชน ผ่านสองสถานที่นี้กัน