Category: รัฐศาสตร์

นัยยะที่ซ่อนอยู่ในความหมายของคำว่า ประชาชน ราษฎร พลเมืองนัยยะที่ซ่อนอยู่ในความหมายของคำว่า ประชาชน ราษฎร พลเมือง

ใน 2 บทที่ผ่านมา ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับคำว่า รัฐ ประเทศ รัฐชาติ ไป ทั้งในแง่ความหมาย การตีความ โดยมีการเชื่อมโยงสู่ปัญหาความขัดแย้งในโลกยุคปัจจุบันด้วย ซึ่งตอนแรกก็คิดว่าจะเปลี่ยนโหมดออกจากพวกรัฐศาสตร์บ้าง แต่มาคิดๆ ดู แล้วมันยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจจากเรื่องนี้เกี่ยวกับการแยกความเหมือนความต่างของคนที่อยู่ในรัฐจากคำนิยามต่างๆ เหลืออีกเล็กน้อย ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาสอนก็มักหยิบขึ้นมาถามนักเรียนอยู่เสมอ  “เพราะคิดว่า มันเป็นคำที่คุ้นหูเราเหลือเกิน แต่เราจะเข้าใจความหมายที่แท้จริง หรือใช้คำเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องไหมน่า?” ในที่นี้จะพิจารณาตามความหมายที่ปรากฎใน website สำนักงานของราชบัณฑิตยสภา ประชาชน เป็นคำที่เกิดจากคำว่า ประชา คือ กลุ่มคน และชน หมายถึง

Drama ฮ่องกง-ไต้หวัน เราควรจะจัดกลุ่ม 2 พื้นที่นี้ว่าอยู่ในสถานะไหนดี?Drama ฮ่องกง-ไต้หวัน เราควรจะจัดกลุ่ม 2 พื้นที่นี้ว่าอยู่ในสถานะไหนดี?

สืบเนื่องจากบทก่อน ที่ยังเล่าได้ไม่หมด เพราะคิดว่าประเด็นนี้ดูน่าจะต้องพูดอีกยาว เลยจัดให้เป็นบทใหม่เลยจะดีกว่า… คิดว่าหลายคนคงได้ยินประเด็น drama เกี่ยวกับฮ่องกงและไต้หวัน มาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะกรณีฮ่องกง ซึ่งบานปลายกลายเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ รวมถึงเป็นกระแสจากดาราที่แสดงในละครวายของไทยด้วย ซึ่งแน่นอนก็มีหลายฝ่ายพูดกันไปต่างๆ นานา “ประเด็นสำคัญจาก Drama ในเรื่องนี้ คือ ความจริงแล้ว เราควรเรียกไต้หวัน และฮ่องกง ว่าเป็นประเทศ หรือเป็นรัฐ ได้ไหม? แล้วการเรียกร้องสิทธิโดยเฉพาะกรณีฮ่องกง นี่ถือว่าถูกต้องในเชิงรัฐศาสตร์หรือไม่?”  ในบทนี้เราจะมาหาคำตอบในประเด็นนี้กันโดยเชื่อมโยงความรู้จากเนื้อหาที่เล่าไปแล้วในบทที่ผ่านมา สำหรับผู้อ่านท่านใดที่เพิ่งเข้ามาอ่านในบทนี้ แล้วอยากทราบเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการแยกรัฐกับชาติย้อนกลับไปดูในบทก่อนหน้านี้ได้นะครับ เริ่มจาก ไต้หวัน ก่อน ไต้หวันหรือเกาะฟอร์โมซา เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี ค.ศ. 1949 โดยผู้สถาปนา

ไขความหมายของคำว่า รัฐ ชาติ ประเทศ มันคืออะไร และมีอะไรซ่อนอยู่ในคำเหล่านี้ไหม?ไขความหมายของคำว่า รัฐ ชาติ ประเทศ มันคืออะไร และมีอะไรซ่อนอยู่ในคำเหล่านี้ไหม?

หลังจาก Intro ผ่านไป 2 บท ครั้งนี้ถึงเวลาต้องเอาเกร็ดความรู้จากวิชาสังคมมาเล่าสู่กันฟังละ เริ่มแรกด้วยเรื่องราวที่มาจากเนื้อหาทางรัฐศาสตร์ เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินคำว่า รัฐ ชาติ หรือประเทศ กันมาบ้าง แต่เคยนึกสงสัยกันไหมว่า สามคำนี้มันคืออะไรกันแน่? มีความแตกต่างกันบ้างไหม? มีนัยยะของความหมายอะไรที่ซ่อนอยู่ในคำเหล่านี้หรือไม่? ในบทนี้เราจะมาร่วมไขคำตอบของคำทั้งสามนี้กัน! เริ่มจากคำว่า “รัฐ” (State) ความหมายของคำนี้ จะเน้นไปที่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมือง นิยามหลักๆ ของมัน คือ “ชุมชนทางการเมือง” ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (ในที่นี่จะหมายรวมถึงคน 3 กลุ่ม คือ พลเมือง กลุ่มชาติพันธุ์