insightsocialstudies ประวัติศาสตร์,รัฐศาสตร์,รัฐศาสตร์-การเมืองระหว่างประเทศ Drama ฮ่องกง-ไต้หวัน เราควรจะจัดกลุ่ม 2 พื้นที่นี้ว่าอยู่ในสถานะไหนดี?

Drama ฮ่องกง-ไต้หวัน เราควรจะจัดกลุ่ม 2 พื้นที่นี้ว่าอยู่ในสถานะไหนดี?

ภาพที่สื่อให้เห็นถึงพันธมิตรระหว่างไทย-ไต้หวัน-ฮ่องกง ในช่วงที่เกิดกระแสดราม่าจากนักแสดงสายวายไทย

สืบเนื่องจากบทก่อน ที่ยังเล่าได้ไม่หมด เพราะคิดว่าประเด็นนี้ดูน่าจะต้องพูดอีกยาว เลยจัดให้เป็นบทใหม่เลยจะดีกว่า… คิดว่าหลายคนคงได้ยินประเด็น drama เกี่ยวกับฮ่องกงและไต้หวัน มาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะกรณีฮ่องกง ซึ่งบานปลายกลายเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ รวมถึงเป็นกระแสจากดาราที่แสดงในละครวายของไทยด้วย ซึ่งแน่นอนก็มีหลายฝ่ายพูดกันไปต่างๆ นานา

ประเด็นสำคัญจาก Drama ในเรื่องนี้ คือ ความจริงแล้ว เราควรเรียกไต้หวัน และฮ่องกง ว่าเป็นประเทศ หรือเป็นรัฐ ได้ไหม? แล้วการเรียกร้องสิทธิโดยเฉพาะกรณีฮ่องกง นี่ถือว่าถูกต้องในเชิงรัฐศาสตร์หรือไม่?” 

ในบทนี้เราจะมาหาคำตอบในประเด็นนี้กันโดยเชื่อมโยงความรู้จากเนื้อหาที่เล่าไปแล้วในบทที่ผ่านมา สำหรับผู้อ่านท่านใดที่เพิ่งเข้ามาอ่านในบทนี้ แล้วอยากทราบเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการแยกรัฐกับชาติย้อนกลับไปดูในบทก่อนหน้านี้ได้นะครับ

เริ่มจาก ไต้หวัน ก่อน ไต้หวันหรือเกาะฟอร์โมซา เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี ค.ศ. 1949 โดยผู้สถาปนา คือ เจียงไคเช็ค ซึ่งท่านเคยเป็นประมุขสาธารณรัฐจีน (ยุคที่จีนยังปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย) แต่ภายหลังท่านแพ้ต่อเหมาเจ๋อตงในสงครามกลางเมืองปี ค.ศ. 1949 จึงได้ลี้ภัยไปจัดตั้งรัฐบาลคณะชาติจีนหรือสาธารณรัฐจีนที่ไต้หวันดังกล่าว

ภาพของเจียงไคเชค ประธานาธิบดีคนแรกของไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) และเหมาเจ๋อตง ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณประชาชนจีน

แน่นอนหากเรามองในจุดเริ่มต้นหรือมองในเชิงประวัติศาสตร์เช่นนี้

หากเราเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เราก็คงต้องบอกว่าไต้หวันไม่มีทางเป็นรัฐอิสระได้ เพราะจุดเริ่มต้นคุณมาจากฉัน แต่ในทางตรงข้าม คนไต้หวันก็จะบอกว่าอ่าว…ก็ฉันเป็นรัฐบาลอยู่ แต่คุณแย่งอำนาจไปจากฉันต่างหาก ฉันรอวันทวงคืนอำนาจอธิปไตยของฉัน ดังนั้นฉันจึงเป็นรัฐอิสระ

ดังนั้นตรงนี้จึงเท่ากับว่าต่างคนต่างมองในมิติที่ตัวเองจะได้ประโยชน์ เลยไม่มีคำตอบได้อย่าง 100% ว่าจริงๆ แล้วไต้หวันควรเป็นรัฐอิสระหรือประเทศไหม ในมุมของผู้เขียนจึงอยากให้ผู้อ่านมองในเชิงความหมายของรัฐ ดังที่ได้กล่าวไปในบทความเรื่องการแยกรัฐกับชาติ

หากถามว่าในปัจจุบัน ไต้หวันมีองค์ประกอบ 4 อย่างของรัฐครบไหม?

คำตอบ คือ ครบ แม้จะไม่สมบูรณ์ดีนัก ในแง่รัฐบาลและอำนาจอธิปไตย โดยจุดเน้นสำคัญ คือ รัฐบาลที่ปกครองจะต้องได้รับการยอมรับจากนานาชาติรวมถึงองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ แต่กรณีไต้หวัน ปัญหา คือ จีน ตามที่ได้กล่าวไป

ไช่อิงเหวิน ประธานาธิบดีหญิงคนปัจจุบันของไต้หวัน (ปัจจุบัน = กันยา 2020)

อย่างไรก็ตามกับรัฐอื่นๆ แล้วทุกรัฐก็ล้วนมองความมีตัวตนของไต้หวันทั้งสิ้น ไต้หวันยังมีเพลงชาติที่หลอมรวมความเป็นไต้หวัน มีธงชาติที่บ่งความเป็นตัวเอง มีกระบวนการเลือกตั้งที่ไม่ขึ้นกับรัฐใดๆ องค์ประกอบหรือสภาพการณ์ต่างๆ ที่กล่าวมาจึงทำให้ผู้เขียนมองว่า ไม่ว่าอย่างไร ไต้หวัน ก็มีความเป็นรัฐหรือประเทศไปเรียบร้อยแล้ว อีกอย่างแม้ทางรัฐบาลจีนจะไม่เคยยอมรับการมีตัวตนของไต้หวันเลย แต่ในแง่เศรษฐกิจการค้า ก็มีการติดต่อกันอยู่เสมอ

สงครามฝิ่น ที่มีผลให้จีนพ่ายแพ้และสูญเสียฮ่องกงให้กับอังกฤษ

ทีนี้เรามาดู ฮ่องกง กันบ้าง สำหรับฮ่องกง ประวัติที่สำคัญต้องย้อนไปภายหลังสงครามฝิ่นที่จีนสมัยราชวงศ์ชิงทำกับอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1842 แล้วพ่ายแพ้ ฮ่องกงถูกอังกฤษยึดไป ต่อมาอังกฤษมีชัยชนะเหนือจีนอีกครั้งในสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ปี ค.ศ. 1898 ในครั้งนี้อังกฤษได้ขยายดินแดนการครอบครองไปถึงคาบสมุทรเกาลูนและได้ทำสัญญาเช่าเป็นเวลา 99 ปีจากราชสำนักชิง นับแต่นั้นฮ่องกงก็อยู่ใต้การปกครองของอังกฤษมาโดยตลอดจนถึง ปี ค.ศ. 1997 ซึ่งครบกำหนดสัญญาเช่า อังกฤษได้ส่งมอบฮ่องกงคืนต่อจีน ซึ่งผู้นำของจีนในขณะนั้น คือ เติ้งเสี่ยวผิง จีนได้ตัดสินใจที่จะทำให้ฮ่องกงเป็นเขตบริหารการปกครองแบบพิเศษ (Special Administrative Region) มีลักษณะการปกครองและเศรษฐกิจที่เป็นของตัวเอง ไม่ขึ้นกับจีน ในลักษณะที่รู้จักกันในชื่อว่า “หนึ่งประเทศ สองระบบ” (One Country, Two Systems)

ฮ่องกงในปัจจุบัน ด้วยสถานะการเป็นเมืองท่าสำคัญ

ปัจจุบันฮ่องกง มีการบริหารที่เป็นอิสระจากรัฐบาลจีนยกเว้นเรื่องการทหาร การต่างประเทศ มีระบบเศรษฐกิจและการเงินเป็นของตัวเอง โดยระบบนี้จีนกำหนดไว้ว่าจะใช้ไปจนถึงปี ค.ศ. 2047 ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไรค่อยมาตกลงกันใหม่

จากที่เล่าประวัติมา ผู้อ่านคงพอมองเห็นชัดเจนว่า 

สถานะของฮ่องกงในปัจจุบันถือว่าเป็นเขตการปกครองแบบพิเศษของจีน 

หากพิจารณาตามหลักเรื่ององค์ประกอบของรัฐ ก็ยังสรุปได้อีกเช่นกันว่า 

ฮ่องกงไม่มีอำนาจอธิปไตยที่เป็นของตัวเอง 

อำนาจอธิปไตยนี้ คือ อำนาจในการปกครองสูงสุดของประเทศ ซึ่งหากจะเป็นรัฐโดยสมบูรณ์ อำนาจนี้ต้องอยู่กับผู้ปกครองของรัฐนั้น ไม่ได้ถูกกำหนดมาจากรัฐอื่น ในแง่รัฐบาลที่ปกครอง จะต้องได้รับการยอมรับทั้งจากประชาชนในประเทศและนอกประเทศ แต่กรณีฮ่องกงเราก็เห็นได้ชัดว่า ทุกอย่างมาจากศูนย์กลาง คือ จีน หมด ตรงนี้ผู้เขียนจึงสรุปแบบ 100% ได้เลยว่า ฮ่องกงไม่ใช่รัฐหรือประเทศ

ภาพการชุมนุมประท้วงที่ฮ่องกง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้มาจากการที่รัฐบาลจีนพยายามลดบทบาทของฮ่องกงลง โดยการพัฒนาเศรษฐกิจในเมืองท่าชายฝั่งของจีนหลายแห่ง เพื่อกระจายความเจริญต่างๆ ไม่กระจุกที่ฮ่องกงจุดเดียว รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการ 1,200 คน เพื่อเลือกผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ซึ่งก็ถูกมองว่าเป็นสายนิยมจีน รวมถึงการบัญญัติกฎหมายหลายเรื่องที่มีผลกระทบต่อเรื่องสิทธิเสรีภาพของชาวฮ่องกง การพยายามให้ชาวฮ่องกงใช้ภาษาจีนกลางแทนภาษากวางตุ้งซึ่งเป็นภาษาพื้นถิ่นที่ชาวฮ่องกงใช้ในการสื่อสาร เหล่านี้ล้วนส่งผลให้ชาวฮ่องกงโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นหนุ่มสาวไม่พอใจจนนำไปสู่การประท้วงต่อต้านอยู่บ่อยครั้ง จนถึงทุกวันนี้ปัญหาก็ยังคงยืดเยื้อ หาข้อยุติไม่ได้ 

หากถามว่าใครถูกใครผิด? คงตอบได้ยาก” 

ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นครูสอนสังคม-ประวัติศาสตร์ อยากให้ทุกคนได้มองอย่างเป็นกลาง อาศัยเหตุผล หลักฐาน ข่าวจากหลายๆ ที่มาประมวลและคิดวิเคราะห์ อย่าปักใจเชื่อในทันที แล้วเราจะได้รับข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความจริงมากสุด 

เรื่องการเมืองไม่ว่าจะในหรือต่างประเทศ ต่างก็มีวาระซ้อนเร้นด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นฟังหูไว้หู อาศัยการวิเคราะห์จากข้อมูลต่างๆ จึงเป็นอะไรที่ดีที่สุด”

มาถึงในจุดนี้ ผู้อ่านคงได้บทสรุปแล้วนะครับว่า เราควรวางสถานะ ไต้หวันและฮ่องกง ในลักษณะใดดี หวังว่าข้อมูลที่เอามาเล่าในวันนี้คงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านพอสมควร ในครั้งหน้า ยังมีควันหลงเกี่ยวกับเรื่องทางรัฐศาสตร์อีกเล็กน้อย แต่จะเป็นเรื่องอะไรนั้น คอยติดตามกันต่อไปครับ

If you like, please share this!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Related Post

วัฒนธรรมกับอารยธรรม มันเหมือนหรือต่างกันยังไงหนอ?วัฒนธรรมกับอารยธรรม มันเหมือนหรือต่างกันยังไงหนอ?

ได้บอกเล่าเรื่องราวที่สัมพันธ์กับเนื้อหาทางรัฐศาสตร์ไป 3 บทละ มาในบทนี้ขอเปลี่ยนโหมดไปที่ประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็น part ที่ถนัดสุดของผู้เขียนบ้าง แต่จะว่าไปแล้วเรื่องราวที่จะมาแชร์ให้ผู้อ่านในวันนี้มันก็ไม่ได้เป็นประวัติศาสตร์เสียทั้งหมด บางส่วนก็ยังสัมพันธ์กับเนื้อหาทางสังคมวิทยาอยู่บ้าง หากผู้อ่านยังพอจำกันได้อยู่ก้อน่าจะรู้ว่าเนื้อหาสังคมวิทยากับรัฐศาสตร์ มันรวมอยู่ในสาระหน้าที่พลเมืองนั่นเอง แต่คิดว่าส่วนใหญ่น่าจะลืมนะ 555 ไม่เป็นไรผ่านๆ ไปต่อกันเลย เนื้อหาที่จะยกขึ้นมาเขียนวันนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคำว่า วัฒนธรรมกับอารยธรรม ซึ่งเชื่อแน่ว่าผู้อ่านทุกคนต้องเคยได้ยินคำทั้งสองมาแล้วอย่างแน่นอน แต่ปัญหาคืออาจจะยังไม่รู้หรือเข้าใจความต่างของคำทั้งสองอย่างแท้จริง จริงๆ ทั้งสองคำนี้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกัน ถือเป็นส่วนหนึ่งในกันและกัน หากพิจารณาในเชิงความหมายและการนำไปใช้ นิยามที่ให้อาจต่างกันบ้าง แต่รวมๆ จะมีเนื้อความหมายหลักคล้ายกัน ดังนั้นเริ่มแรกเราไปดูที่ความหมายตามการบัญญัติศัพท์ของสำนักราชบัณฑิตยสภากันก่อน จากนั้นจึงค่อยไปเทียบความเหมือนความต่างและการนำไปใช้อย่างถูกต้อง วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของสังคม

ไขความหมายของคำว่า รัฐ ชาติ ประเทศ มันคืออะไร และมีอะไรซ่อนอยู่ในคำเหล่านี้ไหม?ไขความหมายของคำว่า รัฐ ชาติ ประเทศ มันคืออะไร และมีอะไรซ่อนอยู่ในคำเหล่านี้ไหม?

หลังจาก Intro ผ่านไป 2 บท ครั้งนี้ถึงเวลาต้องเอาเกร็ดความรู้จากวิชาสังคมมาเล่าสู่กันฟังละ เริ่มแรกด้วยเรื่องราวที่มาจากเนื้อหาทางรัฐศาสตร์ เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินคำว่า รัฐ ชาติ หรือประเทศ กันมาบ้าง แต่เคยนึกสงสัยกันไหมว่า สามคำนี้มันคืออะไรกันแน่? มีความแตกต่างกันบ้างไหม? มีนัยยะของความหมายอะไรที่ซ่อนอยู่ในคำเหล่านี้หรือไม่? ในบทนี้เราจะมาร่วมไขคำตอบของคำทั้งสามนี้กัน! เริ่มจากคำว่า “รัฐ” (State) ความหมายของคำนี้ จะเน้นไปที่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมือง นิยามหลักๆ ของมัน คือ “ชุมชนทางการเมือง” ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (ในที่นี่จะหมายรวมถึงคน 3 กลุ่ม คือ พลเมือง กลุ่มชาติพันธุ์

นัยยะที่ซ่อนอยู่ในความหมายของคำว่า ประชาชน ราษฎร พลเมืองนัยยะที่ซ่อนอยู่ในความหมายของคำว่า ประชาชน ราษฎร พลเมือง

ใน 2 บทที่ผ่านมา ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับคำว่า รัฐ ประเทศ รัฐชาติ ไป ทั้งในแง่ความหมาย การตีความ โดยมีการเชื่อมโยงสู่ปัญหาความขัดแย้งในโลกยุคปัจจุบันด้วย ซึ่งตอนแรกก็คิดว่าจะเปลี่ยนโหมดออกจากพวกรัฐศาสตร์บ้าง แต่มาคิดๆ ดู แล้วมันยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจจากเรื่องนี้เกี่ยวกับการแยกความเหมือนความต่างของคนที่อยู่ในรัฐจากคำนิยามต่างๆ เหลืออีกเล็กน้อย ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาสอนก็มักหยิบขึ้นมาถามนักเรียนอยู่เสมอ  “เพราะคิดว่า มันเป็นคำที่คุ้นหูเราเหลือเกิน แต่เราจะเข้าใจความหมายที่แท้จริง หรือใช้คำเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องไหมน่า?” ในที่นี้จะพิจารณาตามความหมายที่ปรากฎใน website สำนักงานของราชบัณฑิตยสภา ประชาชน เป็นคำที่เกิดจากคำว่า ประชา คือ กลุ่มคน และชน หมายถึง