#1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเส้นแบ่งวันที่สากล (International Dateline) **
ตัวเลือกที่เป็นคำตอบของโจทย์นี้จะตรงกับ ตัวเลือกที่ 4 เวลาของเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเส้นวันที่จะเร็วกว่าที่กรีนนิช โดยเส้นวันที่สากลหรือ International Date Line จะมีตำแหน่งอยู่ตรงข้ามกับเส้นเมอริเดียนปฐม หรือ Prime Meridian ที่เส้นเมอริเดียน 180 องศาลองจิจูดตะวันออก และ 180 องศาตะวันตก บรรจบกันพอดี จะอยู่บริเวณใจกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก
และเหตุที่ทำไมอยู่ทิศตะวันตกแล้ว แล้วเวลากลับเร็วกว่าเป็นเพราะเส้นนี้อยู่ตรงข้ามเส้นเมอริเดียนปฐม ดังนั้นเวลาจึงกลับตรงข้าม
(ถ้ายังงงๆ หรืออยากภาพเพื่อประกอบการอธิบาย สามารถไปอ่านเฉลยละเอียดเพิ่มเติมได้จากหน้า Answer Key G-1 นะครับ)
#2. หากต้องการได้ภาพถ่ายจากดาวเทียมเพื่อใช้ประโยชน์ในการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปกคลุมดินซึ่งสามารถใช้แทนที่ภาพถ่ายทางอากาศขนาดมาตราส่วน 1 : 20000 ได้ ควรใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายจากดาวเทียมข้อใด ***
ตัวเลือกที่เป็นคำตอบของโจทย์นี้ตรงกับ ตัวเลือกที่ 2 ดาวเทียม Theos
ดาวเทียม Theos ถือเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของไทย มีชื่อในภาษาไทยว่า ดาวเทียม Thaichote ความสูงของดาวเทียมดวงนี้มีระดับจากพื้นโลก คือ ที่ระดับ 822 กิโลเมตรจากพื้นโลก ความละเอียดของภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพขาว-ดำ คือ 2 เมตร ความกว้างแนวถ่ายภาพ คือ 22 กิโลเมตร ส่วนความละเอียดของภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพสี คือ 15 เมตร ความกว้างแนวถ่ายภาพ คือ 90 กิโลเมตร ที่ผ่านมาเคยนำภาพจากดาวเทียม Theos มาใช้ทำแผนที่มาตราส่วน 1 : 25000 ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับเงื่อนไขที่โจทย์กำหนดมา
#3. ในรอบปีหนึ่งๆ บุคคลใดได้รับผลกระทบที่ต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของเวลาเนื่องจากความแตกต่างระหว่างกลางวันกับกลางคืนมากที่สุด (สามัญ 62) **
ตัวเลือกที่เป็นคำตอบของโจทย์นี้ คือ ตัวเลือกที่ 2 นายเอกรัตน์ ตั้งถิ่นฐานที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อเปรียบเทียบสถานที่ (ประเทศ) ต่างๆ ที่ตัวเลือกทั้งหมดให้มาแล้ว รัฐซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในเขตเวลาตามพิกัดลองจิจูดที่ไกลจากประเทศไทยมากที่สุด คือ 105 องศาตะวันตก มีเวลาช้ากว่าที่กรีนนิช (เส้นเมอริเดียนปฐม) 7 ชั่วโมง และช้ากว่าประเทศไทยถึง 14 ชั่วโมง ดังนั้นนายเอกรัตน์จึงได้รับผลกระทบจากการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของเวลามากที่สุด
(ดูเหตุผลหักล้างตัวเลือกที่ไม่ใช่คำตอบ รวมถึงคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องการแบ่งเขตเวลาโลกเพิ่มเติมได้ที่หน้า Answer Key G-1 นะครับ)
#4. ภูมิประเทศในข้อใดที่มีกระบวนการเกิดเหมือนกับหุบเขาทรุด (rift calley) (O-Net 62) **
ตัวเลือกที่เป็นคำตอบของโจทย์นี้ คือ ตัวเลือกที่ 3 ทะเลสาบแทนแกนยิกาในประเทศคองโก โดยทะเลสาบแห่งนี้เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่อันดับสองในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อ 4 ประเทศด้วยกัน คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แทนซาเนีย แซมเบีย และบุรุนดี เกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ ทะเลสาบแทนแกนยิกา เกิดจากการทรุดตัวของแผ่นเปลือกโลกและภูเขาไฟระเบิดเมื่อราว 20 ล้านปีมาแล้ว โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของแนว Great Rift Valley ซึ่งถือเป็นรอยแยกยาวต่อเนื่องขนาดยาวที่สุดในโลก (จากกระบวนการทรุดตัวลงของเปลือกโลก)
จา่กลักษณะกระบวนการเกิดของทะเลสาบแทนแกนยิกา จึงสรุปได้ชัดเจนว่า มีกระบวนการเกิดเหมือนหุบเขาทรุด (Rift Valley)
(สามารถอ่านเหตุผลหักล้างตัวเลือกอื่นๆ ได้เพิ่มเติมผ่านหน้า Answer Key G-1)
#5. ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติในด้านวาตภัยและอุทกภัย รวมถึงอาจเกิดแผ่นดินถล่มจากอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อนที่มีความถี่ในการเกิดสูง ท่านควรหลีกเลี่ยงในการเดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดใด (สามัญ 61) ***
ตัวเลือกที่เป็นคำตอบของโจทย์นี้จะตรงกับ ตัวเลือกที่ 4 ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช โดยพิจารณาจากทิศทางและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนตัวของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งพัดมาจากทะเลจีนใต้ ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุจะเป็นภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งที่ผ่านมาพื้นที่นี้เคยได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นมาแล้วในช่วงเวลานี้ คือ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2505 (พายุแฮเรียต-ระดับโซนร้อน) พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมาก คือ แหลมตะลุมพุก จังหวัด นครศรีธรรมราช / ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (พายุเกย์-ระดับไต้ฝุ่น) พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมาก คือ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
#6. เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ซึ่งมีปัญหาการกัดกร่อนของชายฝั่งทะเล พื้นที่ใดต่อไปนี้มีอัตราการกัดกร่อนที่รุนแรงที่สุดและมีความจำเป็นต้องแก้ไขก่อน **
ตัวเลือกที่เป็นคำตอบของโจทย์นี้จะตรงกับ ตัวเลือกที่ 1 อ่าวไทยตอนบน โดยจากสถิติ อัตรากัดเซาะรุนแรง คือ เฉลี่ยมากกว่า 5 เมตรต่อปี (ถือเป็นพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เร่งด่วน) จะเกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งระยะทางรวม 180.9 กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 10.9 ของแนวชายฝั่งอ่าวไทย ทั้งนี้ชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและเกิดการกัดเซาะที่รุนแรงที่สุด โดยบางพื้นที่มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี
#7. ในเชิงปฐพีวิทยา ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรดินและวิกฤตการณ์ที่ดินในข้อใดถือว่ามีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด *
ตัวเลือกที่เป็นคำตอบของโจทย์นี้ตรงกับ ตัวเลือกที่ 5 ปัญหาดินเสื่อมสภาพและขาดความอุดมสมบูรณ์ทั้งนี้เนื่องจากคำอธิบายเกี่ยวกับปัญหาของทรัพยากรดินจากตัวเลือกนี้เป็นคำอธิบายในภาพใหญ่ของปัญหาทรัพยากรดินซึ่งชัดเจนที่สุด ทั้งนี้การเปลี่ยนสภาพพื้นที่เป็นอุตสาหกรรม (จากตัวเลือกที่ 1) ก็จะมีผลให้ดินเสื่อมสภาพ ส่วนการพังทลายของดิน แผ่นดินทรุด (จากตัวเลือกที่ 4) ก็ล้วนมีรากฐานของปัญหามาจากกิจกรรมต่างๆ ที่มนุษย์เข้าไปกระทำ เช่น การทำเหมืองแร่ การสูบน้ำบาดาล การสร้างตึกขนาดใหญ่กดทับ ซึ่งท้ายสุดจะมีผลให้ดินเสื่อมสภาพ แห้งกรัง จนมีผลให้เกิดแผ่นดินทรุดตามมา
(ยังมีคำอธิบายเกี่ยวกับเหตุผลในการตอบตัวเลือกที่ 5 เพิ่มเติมอีก อย่าลืมไปอ่านกันต่อได้ในหน้า Answer Key G-1 นะครับ)
#8. ปรากฏการณ์ใดสะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตการณ์ของสิ่งแวดล้อมโลกในปัจจุบันได้ชัดเจนที่สุด *
ตัวเลือกที่เป็นคำตอบของโจทย์นี้จะตรงกับ ตัวเลือกที่ 4 ความยั่งยืนของป่าฝนเขตร้อนของโลกจะช่วยลดอัตราเร่งในการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก เนื่องจากป่าฝนเขตร้อน เป็นเขตนิเวศที่สำคัญของโลก ทำหน้าที่กักเก็บความชุ่มชื้น เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ป่า ส่งผลต่อการคายออกซิเจน และที่สำคัญเมื่อกล่าวถึงผลกระทบไปถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก (Climate Change) ตรงนี้จึงสรุปได้เลยว่าตัวเลือกนี้ต้องเป็นคำตอบแน่นอน เพราะคงไม่มีประเทศใดในโลก ณ ปัจจุบันนี้ที่จะไม่ประสบกับปัญหาดังกล่าว
(ยังมีคำอธิบายเกี่ยวกับเหตุผลหักล้างตัวเลือกที่ไม่ใช่คำตอบเพิ่มเติมอีก ไปอ่านกันต่อได้ในหน้า Answer Key G-1 นะครับ)
#9. ข้อใดไม่ใช่พันธกรณีที่กำหนดไว้ในแผนการดำเนินงานโจฮันเนสเบิร์ก (O-Net 61) **
ตัวเลือกที่เป็นคำตอบของโจทย์นี้จะตรงกับ ตัวเลือกที่ 5 การแก้ไขการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและความแห้งแล้ง ด้วยเหตุที่ว่า แผนการดำเนินงานโจฮันเนสเบิร์ก เป็นกรอบแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ 21 และข้อตกลงอื่นๆ โดยอาศัยหลักการพัฒนาอย่างมีบูรณาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และหลักการความรับผิดชอบร่วมกัน รวมๆ แล้วเหล่านี้ก็คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน นั่นเอง โดยเมื่อพิจารณาจากตัวเลือกทั้งหมด เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ตัวเลือกที่ 5 เป็นเพียงตัวเลือกเดียว ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นตัวเลือกนี้จึงเป็นคำตอบ
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานโจฮันเนสเบิร์ก รวมถึงเหตผลหักล้างตัวเลือกอื่นๆ ได้ผ่านหน้า Answer Key G-1 นะครับ)
#10. การพัฒนาของมนุษย์ในข้อใดที่สอดคล้องกับระบบธรรมชาติและสร้างผลกระทบต่อระบบน้อยที่สุด **
ตัวเลือกที่เป็นคำตอบจากโจทย์นี้จะตรงกับ ตัวเลือกที่ 4 การร่วมมือกันของประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางเพื่อพัฒนาข้าวบาร์เลย์ทนแล้ง โดยการพัฒนาลักษณะเช่นนี้ถือเป็นการพัฒนาที่สอดคล้องและส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดหากเทียบกับตัวเลือกอื่นๆ คำว่า ทนแล้ง ย่อมหมายความว่าพื้นที่ที่จะใช้เพาะปลูกนั้นแล้ง โดยปกติการทำการเกษตรบริเวณแถบนี้ค่อนข้างยากอยู่แล้ว แต่เมื่อมีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวดังกล่าวเท่ากับว่าส่งผลให้พื้นที่ที่แล้งนี้กลับมาเพาะปลูกได้ เมื่อเพาะปลูกดินจะถูกใช้ หลังการให้ปุ๋ยดินจะได้รับการปรับสภาพให้ดีขึ้น เช่นนี้แล้วก็ถือว่าธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นได้ผลดีจากการพัฒนาดังกล่าวไปในตัว
(ดูเหตุผลหักล้างตัวเลือกอื่นๆ ได้เพิ่มเติมในหน้า Answer Key G-1 นะครับ)
Results
ยินดีกับผู้เข้าร่วมแบบทดสอบด้วย! คะแนนการทดสอบในสาระภูมิศาสตร์ผ่านเกณฑ์ 60% นะครับ ฝึกทบทวน และเพียรพยายามกันต่อไปนะครับ
ว้า.. คะแนนการทดสอบของสาระภูมิศาสตร์ยังไม่ผ่านเกณฑ์ 60% นะครับ แต่อย่าเพิ่งท้อไป หมั่นทบทวนเนื้อหา และลองกลับมาทดสอบกันใหม่ รับรองผ่านแน่นอนครับ