Tag: วัฒนธรรม

ชุมชนกุฎีจีน; หลากหลายวัฒนธรรมแต่กลมกลืนในตนเอง (ตอนที่ 1)ชุมชนกุฎีจีน; หลากหลายวัฒนธรรมแต่กลมกลืนในตนเอง (ตอนที่ 1)

ด้วยเพราะเคยเขียนถึงเรื่องวัฒนธรรมไว้หลายตอน แต่ส่วนใหญ่เป็นทฤษฎี มาใน blog นี้ เลยอยากชวนทุกคนได้ไปสัมผัสกับวัฒนธรรมผ่านวิถีของผู้คนจริงๆ โดยสถานที่ที่ผู้เขียนจะเลือกมาเล่านี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับเรื่องความหลากหลาย หนึ่งในลักษณะเด่นของสังคมไทยได้ด้วย สถานที่นี้ก็คือ “ชุมชนกุฎีจีน” ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในเขตธนบุรีปัจจุบัน อีกเหตุผลหนึ่งที่เลือกชุมชนนี้ ก็เพราะคือเส้นทางหนึ่งที่ผู้เขียนได้ทำทัวร์อยู่ เลยรู้สึกถึงความน่าสนใจทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะในเรื่องความหลากหลายแต่สามารถหลอมรวมกันได้อย่างลงตัว ชุมชนกุฎีจีน : ชุมชนฝั่งธนที่มีประวัติย้อนหลังได้ถึงสมัยธนบุรี ชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือก็คือฝั่งธนบุรีนั่นเอง โดยประวัติของชุมชนนี้เริ่มต้นที่สมัยธนบุรี (พ.ศ. 2310–2325) เวลาไปเที่ยวและอยากค่อยๆ สัมผัสตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชุมชนนี้ ผู้เขียนแนะนำให้ไปที่ ศาลเจ้าเกียนอันเก่ง และโบสถ์ซานตาครูสก่อนเลย รับรองได้อินตั้งแต่จุดเริ่มแน่นอน ดังนั้นไม่รอช้า เราไปย้อนหลังประวัติของชุมชน ผ่านสองสถานที่นี้กัน

มนุษย์สร้างและใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมอย่างไรกัน?มนุษย์สร้างและใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมอย่างไรกัน?

บทที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะตัวของมนุษย์ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ โดยมีจุดแบ่งสำคัญ คือ การที่มนุษย์สามารถสร้างสรรค์วัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อบ่งชี้ความเจริญและกลบสัญชาตญาณลงไป มาในบทนี้ เราจะลงลึกเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับมนุษย์ให้มากขึ้น ว่าเราสร้างและใช้ประโยชน์จากมันในลักษณะใดๆ บ้าง ซึ่งเรื่องการใช้ประโยชน์นี้ยังสามารถเชื่อมไปได้ถึงเรื่องการอนุรักษ์ด้วย ถ้าพร้อมแล้วเรามาลุยกันเลย….. เกี่ยวกับความหมาย และลักษณะเฉพาะตัวได้คุยกันไปใน 2 บทที่ผ่านมาแล้ว.. ดังนั้นในบทนี้จึงอยากขยายเกี่ยวกับประเภท รูปแบบ และลักษณะอื่นๆ ของวัฒนธรรม บ้าง เพื่อจะได้วิเคราะห์เชื่อมโยงไปถึงการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ได้เข้าใจมากขึ้น ปัจจุบันวัฒนธรรมสามารถแบ่งได้หลากหลายประเภทมาก แต่ที่นิยมใช้เป็นเกณฑ์มากที่สุด คือ เกณฑ์ที่กำหนดจากพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ซึ่งจะแบ่งวัฒนธรรมเป็น 4 ลักษณะ คือ วัฒนธรรมประเภทคติธรรม ได้แก่ พวกคติความเชื่อ

“วัฒนธรรม” สิ่งที่บ่งชี้ความเป็นมนุษย์“วัฒนธรรม” สิ่งที่บ่งชี้ความเป็นมนุษย์

ในบทที่แล้วเราได้พอรู้จักความหมายของคำว่า วัฒนธรรม และความแตกต่างของคำนี้กับคำว่า อารยธรรม ซึ่งก็อย่างที่บอกไปมีคนนำไปใช้ผิดพอสมควร ในบทนี้อยากชวนผู้อ่านได้มาลองดูในเรื่องความสำคัญของวัฒนธรรมต่อมนุษย์กันบ้าง เมื่อจบบททุกคนจะได้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า วัฒนธรรมมันสำคัญหรือจำเป็นต่อมนุษย์ยังไง? ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลย…. เวลาที่เราพูดถึงคำว่า วัฒนธรรม สิ่งหนึ่งที่อยากให้ผู้อ่านได้รับรู้ไว้เลยก็คือ  “มันเป็นสิ่งที่มีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น และยังเป็นสิ่งบ่งชี้สำคัญว่ามนุษย์แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานอื่นๆ”  แม้วัฒนธรรมจะมีความสำคัญในข้ออื่นๆ อีกหลากหลาย แต่นี่คือความสำคัญสูงสุดของคำนี้ เกี่ยวกับเรื่องนี้มีประสบการณ์จากการสอนที่น่าสนใจอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง ตอนสอนนักเรียนครั้งหนึ่งเคยตั้งคำถามกับนักเรียนในข้อสอบแบบอัตนัยว่า  “เห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า วัฒนธรรมมีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น จงแสดงเหตุผลประกอบ“  ซึ่งคำตอบที่ออกมาจะต้องตอบว่าเห็นด้วยดังที่ได้อธิบายไปแล้ว และคะแนนจะมากหรือน้อยดูกันที่เหตุผล แต่ทว่ามีนักเรียนคนหนึ่งเขียนคำตอบมาว่า ไม่เห็นด้วย พร้อมตั้งคำถามจากเหตุผลที่เค้าเขียนมาว่า  “จริงๆ แล้วสัตว์ไม่มีวัฒนธรรมจริงหรือ? เช่น การที่มดสามารถสร้างรัง แบ่งหน้าที่ การที่สุนัขหรือแมวมีกฎไม่ถ่ายรดในพื้นที่เดียวกัน